อะไรๆ ก็ 4.0

ภาพลักษณ์ดูดี แต่ peopleware พร้อมหรือยัง?

สมัยเรียน ป.ตรี ถ้าผมจำไม่ผิดมันจะมีวิชานึงที่ชื่อว่า data structure หรือ computer infrastructure หรืออะไรสักอย่าง สอนเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันจะประกอบไปด้วย hardware, software, data และ peopleware ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจอยากจะหยิบมาเขียนเป็นบทความมันอยู่ที่ตรง peopleware กับสถานการณ์ปัจจุบันนี่แหละ

เรามักจะได้ยินคำว่า 4.0 ทั้งบนหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวี ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เติมต่อที่ท้ายประโยคทั้งนั้น ซึ่งความหมายจริงๆ ของพวก 4.0 เนี่ยมันแต่งขึ้นมาให้ฟังดูโก้ ดูทันสมัยตามโลก หรือมันเป็นแบบนั้นจริงๆ? ซึ่ง common sense ของเราก็จะตีความไปว่า 4.0 มันจะต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีใช่ไหมครับ แล้วใครเป็นผู้สร้าง หรือเขียนเทคโนโลยีขึ้นวะ ถ้าไม่ใช่คน

4.0

ปัญหาคือคนมันพร้อมแล้วหรอสำหรับการสร้างเทคโนโลยีเหล่านั้นเข้าสู่ตลาด ทุกวันนี้ถ้าให้สมมติว่ามีเด็กจบใหม่ตรงสาย comscience ปีละ 5 พันคน จบออกมาแล้วก็ไม่ได้เขียนโปรแกรม หรือทำงานที่เกี่ยวข้องครึ่งต่อครึ่ง (รุ่นผมจบประมาณ 50 เป็นโปรแกรมเมอร์จริงๆ ไม่ถึง 10) ก็เหมารวมเหลือประมาณ 2 พัน แล้วในกลุ่มคนเหล่านั้นบางคนก็ไม่พร้อมที่จะเอามาทำงานจริงในองค์กรอีก มันจึงเป็นวิกฤตโปรแกรมเมอร์อย่างที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันนี้ไง

ช่วงเดือนสองเดือนที่ผ่านมา ผมต้องช่วยลูกค้าเจ้านึงหาโปรแกรมเมอร์มานั่งทำงาน full-time หลักๆ คือ maintain platform ที่เขียน แล้วก็มีเพิ่ม feature ใหม่ลงไป โดยส่วนตัวคิดว่าเงินที่ลูกค้าพร้อมจ่ายต่อคนนั้นก็เป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย หลังจากลองไปช่วยสัมภาษณ์ มีคุยเรื่อง technical รวมไปถึงให้ลองแก้โจทย์ง่ายๆ ซึ่งทุกอย่างเกี่ยวกับที่เขาเขียนมาใน resume

ก็รู้สึกว่ามีมากกว่า 80% ที่เขียนความสามารถเกินกว่าที่ตัวเองทำได้จริงๆ ส่วนคนที่ทำได้ ดูมีแววก็เหมือนจะไม่เหมาะกับ culture ของบริษัทลูกค้า หลังจากผ่านไปร่วมสิบคนก็มานั่งคิดดูว่า โปรแกรมเมอร์ที่พร้อมทำงานจริงๆ แม่งหายากว่ะ ผมเองบางทีคิดว่าถ้าอยากจะจ้างคนมาทำงาน ก็อยากจะได้คนที่พร้อมทำงานได้เลย ไม่ต้องใช้เวลาในการ train หรือต้องมานั่ง coaching เพราะงานที่มีอยู่ปรกติมันก็เร่งอยู่แล้ว การได้คนมาเพิ่มบางทีก็เหมือนกับฉุด productivity ของทีมลงไปด้วยเหมือนกัน

บางทีมันอาจจะมีโปรแกรมเมอร์เก่งๆ อยู่ใน sector ใหญ่ๆ มากพอแล้วก็ได้

แล้วจะทำยังไงให้โปรแกรมเมอร์เหล่านั้นมันหันมาสนใจธุรกิจใหม่ๆ หรือ culture ใหม่ๆ ที่ต้องการการขับเคลื่อนแบบเร็วๆ และมีความเสี่ยงอยู่บ้าง? น้อยครั้งที่จะเจอคนที่ทำงานด้วยแรงจูงใจอื่นที่ไม่ใช่เงิน น้อยครั้งที่จะได้คุยกับคนที่ต้องการทำตามภาพวาดฝันของตัวเองที่อยากจะเห็นความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทุกวันนี้

แต่เราโตขึ้นมาแล้ว ทำไงได้ บางทีกรอบมันก็ถูกตีจำกัดเข้ามามากขึ้นตามไปด้วย

ผมอยากเห็นสิ่งที่เป็น 4.0 จริงๆ ไม่ใช่แค่มันถูกใช้เป็น marketing game หรือเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดีของกลุ่มคน องค์กร กระทรวง ทบวง กรม ซึ่ง peopleware ที่ว่า จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนจากการกระทำจริงๆ ไม่ใช่แค่บอกว่าจะทำ แล้วก็ให้มันไปหาวิธีกันเอง ว่าแล้วก็นึกย้อนไปถึงเมื่อสามสี่ปีที่แล้วตอนที่ทำ startup อยู่ พอชนะ techinasia ก็ไม่มีเงินค่าตั๋วเครื่องบินไปแข่งต่อ เลยวิ่งเต้นหาสปอนเซอร์ เข้าหาผู้ใหญ่ที่บอกตามสื่อว่าจะสนับสนุนอย่างนั้นอย่างนี้ สุดท้ายเลยได้รู้ความจริงว่าโลกมันเป็นยังไง

จนบางทีก็นึก หลังจากจบโทแล้วกลับไปสอนพิเศษพวกเด็กเรียน comscience ป.ตรี เสียจริงๆ 🤖

แชร์บทความนี้

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ อะไรๆ ก็ 4.0

ตอบความเห็นของ Chatchwan (คลิกที่นี่ เพื่อยกเลิกการตอบ)

กรุณากรอกอีเมล์ของคุณก่อนส่งข้อมูล เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาตอบข้อความของคุณ