เรื่อง(ไม่)ง่ายของ WordPress กับ Cache plugin

Cache plugin จำเป็นต้องมีหรือเปล่า..ถ้าต้องมี จะเลือกตัวไหน?

WordPress ถือเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอยู่เรื่อยๆ ทั้งผู้ใช้เดิมเอง แล้วก็ผู้ใช้ใหม่ที่ย้ายจาก CMS ตัวอื่นอย่าง Joomla! และ Drupal เข้ามา ด้วยความที่สามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขทั้ง theme และเพิ่มเติม plugin ให้เหมาะกับเฉพาะงานที่ต้องการจะทำได้ โดยไม่ต้องสนใจอีกต่อไปแล้วว่า WordPress นั้นจะต้องเหมาะสำหรับเว็บไซต์ประเภทบล็อกบทความเท่านั้น

ประเด็นคือ WordPress จะกินทรัพยากรของเครื่องเซิฟเวอร์ค่อนข้างมาก แล้วการนำ WordPress ไปใช้กับ shared-host หรือโฮสติ้งค์รายปีทั่วไปราคาประหยัดเพื่อทำเว็บไซต์ส่วนตัวนั้นเสี่ยงกับการถูกแจ้งให้ย้ายออกเมื่อเว็บไซต์โตขึ้นทุกวันๆ ทีนี้ก็เกิดคำถามต่อมาว่า เราจะทำยังไงเพื่อให้เว็บไซต์ที่รันด้วย WordPress ของเราสามารถอยู่ใน shared-host ได้อย่างปลอดภัย และไม่เป็นภาระที่มากเกินกับเครื่องเซิฟเวอร์ที่เราซื้อใช้อยู่ จึงเป็นที่มาของบทความนี้ครับ

เรื่องของ Cache plugin ใน WordPress

wordpress-cache-plugins

เอาแบบไม่ต้องเข้าไปถึงเรื่องของ technical กันมากเท่าไหร่ กล่าวคือ Cache plugin เนี่ยจะช่วยให้เราสามารถทำเว็บไซต์ของเราเองได้อย่างปรกติทั้งอัพเดทบทความ เพิ่มบทความ เพิ่มโน้นเพิ่มนี่ไม่ต่างอะไรกับตอนที่ไม่มี plugin เสริมเรื่องนี้เข้ามา แต่ในมุมของการบริหารทรัพยากรภายในเครื่องเซิฟเวอร์แล้ว ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ควรจะให้ความสนใจ

พูดกันง่ายๆ ทุกครั้งที่มีผู้ใช้ใหม่เข้ามาหน้าเว็บไซต์เราที่สร้างด้วย WordPress หากใช้ Cache plugin เสริมเข้ามาจะช่วยในเรื่องของ การจัดการไฟล์ต่างๆ ให้มีขนาดเล็กลง โหลดไฟล์น้อยลง แล้วก็ยังสร้าง copy ส่วนนึงของหน้านั้นที่ผู้ใช้เคยเข้าเก็บไว้ที่เครื่องของผู้ใช้เอง เมื่อใดก็ตามที่เว็บไซต์ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรืออัพเดท content อะไรใหม่ ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องโหลดไฟล์อะไรจากเครื่องเซิฟเวอร์อีก แต่จะสามารถเรียกไปยัง cache files ที่เก็บไว้ในเครื่องของเขาเองได้ นั่นหมายความว่า หากมี 100,000 คนเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราในวันนี้ พรุ่งนี้เว็บไซต์เราไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร เครื่องเซิฟเวอร์ก็ไม่จำเป็นต้องแบกภาระที่จะต้องส่งไฟล์ต่างๆ ขึ้นกลับไปให้ผู้ใช้เก่าเหล่านั้นอีกครั้ง เพราะมี cache บันทึกไว้ที่เครื่องของผู้ใช้เองแล้ว

อะไรทำนองนี้ สำหรับคนที่ไม่อยากรู้เรื่อง technical มาก และอยากจะพอเห็นภาพการทำงานเบื้องต้น

การเลือก Cache plugin

หากเราเข้าไปที่เว็บไซต์รวม plugin ของ WordPress เอง เราจะพบกับ plugin จำพวก cache เยอะแยะมากมาย ซึ่งตัวที่จะหยิบยกมาพูดถึงในบทความนี้เป็น plugin ฟรีที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามทั้งคู่ ตัวนึงชื่อว่า WP super cache และอีกตัวชื่อว่า w3 Total Cache ซึ่งผู้เขียนได้ทดลองนำไปปรับใช้กับเว็บไซต์ thetechr.com จึงได้ข้อสรุปดังนี้

ภาพทดสอบผลลัพธ์ของเว็บไซต์ก่อนใช้งาน Cache plugin

ผลลัพธ์จาก GTMetrix
ผลลัพธ์จาก GTMetrix
ผลลัพธ์จาก Pingdom
ผลลัพธ์จาก Pingdom

WP super cache

ข้อดีของ wp super cache คือสามารถใช้งานได้ค่อนข้างง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน การตั้งค่าหลังจากติดตั้ง และ activated ไปแล้วเราสามารถเลือกการตั้งค่าแบบง่ายได้ เมื่อเปิดใช้งานก็จะสามารถเห็นความแตกต่างขึ้นมาได้ทันที แต่ข้อเสียก็คือ feature นั้นอาจจะสู้ของ w3 Total Cache ไม่ได้ ที่สามารถปรับแต่งอะไรได้มากกว่า

ใช้ WP super cache ทดสอบบน GTMetrix
ใช้ WP super cache ทดสอบบน GTMetrix
ใช้ WP super cache ทดสอบบน Pingdom
ใช้ WP super cache ทดสอบบน Pingdom

wp super cache จึงเหมาะกับผู้ใช้งานเบื้องต้น แล้วก็ไม่ได้อยากปรับแต่งอะไรมากมาย

W3 Total Cache

W3 Total Cache ทดสอบบน GTMetrix
W3 Total Cache ทดสอบบน GTMetrix
W3 Total Cache ทดสอบบน Pingdom
W3 Total Cache ทดสอบบน Pingdom

ผู้เขียนเห็นว่าจริงๆ แล้ว W3 Total Cache เองก็มีโหมดที่ช่วยปรับแต่งแบบง่าย คือเลือก checkbox การเปิด-ปิดใช้งาน cache เบื้องต้นอะไรทำนองนั้น แต่ข้อดีของ W3 Total Cache จริงๆ คือการปรับแต่งแยกส่วนได้หลากหลาย ครอบคลุมการใช้งานและมี feature ที่เยอะกว่า wp super cache อยู่พอสมควร เช่นการ integrate กับ service ข้างนอก การปรับใช้กับ CDN รวมไปถึงการเลือก compress ไฟล์ Javascript และ CSS เองได้

W3 Total Cache จึงเหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ หรือรู้เรื่อง technical มาพอสมควร ซึ่งอาจจะต้องใช้พื้นฐานความรู้เรื่อง web server หรือ code ในส่วนของ front-end ด้วย ซึ่งการที่ปรับแต่งอะไรได้มาก ก็จะช่วยในเรื่องของ performance ได้พอสมควร

สรุป

wp super cache และ w3 total cache ต่างถือเป็น plugin เสริมที่ช่วยในเรื่องของการจัดการบริหารทรัพยากรได้ดีพอสมควรทั้งคู่ ซึ่งเราเองก็สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานเว็บไซต์ขนาดเล็ก – กลางในปัจจุบันแล้วยังตอบโจทย์ได้ดี อาจจะมีในเรื่องของ พื้นฐานการปรับแต่ง ที่ตัวนึงอาจจะเหมาะกับผู้ใช้งานใหม่ ไม่ต้องการอะไรซับซ้อน และอีกตัวที่สามารถปรับแต่งได้หลากหลาย แต่ก็แลกมาด้วยอาศัยความสามารถด้าน technical

แชร์บทความนี้

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่อง(ไม่)ง่ายของ WordPress กับ Cache plugin

แสดงความเห็นของคุณที่นี่

กรุณากรอกอีเมล์ของคุณก่อนส่งข้อมูล เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาตอบข้อความของคุณ