Wood Desk – iOS App

Awesome Desks Around You

ช่วงประมาณเกือบเดือนที่ผมใช้เวลาศึกษาแล้วก็เขียน iOS app อย่างจริงจัง หลังจากที่ซื้อ developer program ในชื่อตัวเองมาใช้ตั้งแต่เดือน 2 แล้วก็ทิ้งว่างไว้ไม่ได้เขียนอะไรส่งขึ้นไป มานั่งนึกแล้วก็เสียดายกับเงินสามพันกว่าบาท เลยตัดสินใจว่าจะเริ่มศึกษา Swift แล้วก็เขียนแอพฯ อะไรขึ้นมาเป็นชิ้นเป็นอันเสียที

แต่ประเด็นคือจะเขียนแอพฯ ทั้งที ทำไมไม่เขียนให้มันตอบโจทย์การใช้งานจริงไปเลยล่ะ? ถ้าคนอื่นไม่ใช้ ก็เขียนให้ตัวเองกับเพื่อนๆ ที่อยู่ในวงเดียวกันใช้ก็น่าจะการันตีได้ในระดับนึงว่าแอพฯ ตัวนี้มีประโยชน์แล้วก้ตอบสนองต่อการนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน แอพฯ ที่ว่าจะต้องไม่ใช่แอพฯ สั่วๆที่เขียนขึ้นมางั้นๆ แล้วทิ้งมันไปด้วย เลยใช้เวลาสักเดือนนึงเพื่อศึกษา สร้าง UI แล้วก็เขียน code เองไปเลยอย่างน้อยก็อาจจะได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เก็บลง portfolio ได้ด้วย

Wood Desk iOS app

Wood Desk เลยเกิดขึ้น

เนื่องจากอยากจะ focus ในเรื่องของ client เป็นหลัก ผมเลยเลือกที่จะไม่เขียน back-end สำหรับ project นี้เลย โดยจะใช้ service ของ parse.com แทน แล้วก็อัพโหลดรูปตรงจาก client ไปเก็บไว้บน cloud storage อย่าง Amazon S3 ด้วย นั่นก็หมายความว่าช่วงที่เขียน iOS นั้นจะต้องศึกษาการใช้งาน Parse เบื้องต้น ประกอบกับเรียนรู้ที่จะใช้ AWS ไปด้วยพร้อมๆ กัน

แต่มันก็ไม่ได้ง่ายสำหรับคนที่เป็น web dev. มาก่อนเท่าไหร่หรอกครับ

Parse.com
wood desk ใช้ Parse.com
skecth screenshot
mockup ด้วย Sketch3

โชคดีที่ผมพอมีพื้นฐานเรื่อง design มาบ้าง เลยใช้ sketch ในการร่างแบบแต่ละหน้าเข้ามาก่อน จากนั้นก็ค่อย export พวก assets ต่างๆ จำพวก ปุ่ม ไอคอน ออกมาเป็นไฟล์ภาพที่มีความละเอียดประเภท @2x, @3x ตามลำดับ ที่บอกว่ามันไม่ได้ง่ายก็เพราะว่าเราต้องพยายามเทียบเคียง element ต่างๆ ที่ใช้เรียกบนเว็บไซต์ กับ mobile app เพราะแน่นอนว่ามีผลต่อการใช้ keywords ต่างๆ ค้นหาข้อมูล

ประสบการณ์ที่ใช้ทำ product

ผมคิดว่าประสบการณ์ในการทำ startup ที่ผ่านมามีผลอย่างมากกับการสร้าง product อะไรก็ตามแต่ขึ้นมาใหม่แต่ละชิ้น ถ้าเป็นคนทั่วไปเขียนโน่นทำนี่ก็อาจจะยึด feature ต่างๆ เข้าไปในคราวเดียว กะว่าจะให้แอพฯ นั้นสวยหรู มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบครันในเวอร์ชั่นแรกเลย แต่หลังจากที่มีประสบการณ์ผ่านเรื่องราวจากการทำ startup มาบ้าง ก็เลยทำให้รู้ว่า MVP นั้นสำคัญมาก แล้วก็เป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจไปในทิศทางใดทางหนึ่งได้ชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เรากด feature ทุกอย่างเข้าไปหมดเลยในเวอร์ชั่นแรก เกิด product ตัวนั้นไม่ตอบโจทย์ หรือไม่ตีตลาดการใช้งานจาก user จริงๆ ได้ เราก็ต้องหันกลับมาแก้กันเยอะใช่หรือเปล่าครับ เหมือนเราสร้างรถหนึ่งคันเป็น prototype ไปเสนอลูกค้า แล้วก็โดน reject กลับมา แบบนี้ก็อาจจะท้อกับการต้องปรับแก้กันเยอะ

แต่ถ้าทำ product ออกมาที่พอใช้งานได้ก่อน เน้นทุกอย่างไปที่ core function ให้สามารถใช้งานได้ง่าย อย่างอื่นอาจจะเป็น coming feature ที่เราอาจจะปรับเพิ่มไปในเวอร์ชั่นหน้า ผมว่าแบบนี้จะทำให้ user รู้สึกดี เห็นว่านักพัฒนาใส่ใจกับปัญหา แล้วก็ข้อเสนอแนะจากผู้ใช้งานจริงได้มากขึ้นด้วย

หรือมองในเชิงลบสักนิด ถ้าเราไม่ปล่อยให้ไวรัสเกิด คนก็ไม่สนใจยารักษาโรคกันใช่ไหมละครับ

mezzo-cofee-on-wood-desk

burger-king-on-wood-desk

Wood Desk คืออะไร?

Wood Desk คือแอพฯ ที่ช่วยค้นหาร้านกาแฟ ร้านนั่ง หรือร้านอะไรก็ตามแต่ที่เหมาะกับการนั่งทำงาน นัดคุยงานกับลูกค้า หรือร้านอะไรก็ได้ที่เราเห็นว่าบรรยากาศดีน่าพักผ่อนหย่อนใจ เพราะหลายครั้งผมเอง(กับเพื่อนๆ ฟรีแลนซ์บางส่วน) ก็มักจะเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ว่า เออ ตอนนี้เราออกมาเจอลูกค้าข้างนอกแล้ว หาร้านนั่งทำงานสบายๆ กันไหม.. แล้วจะที่ไหนดีล่ะ หรือจะนัดเจอลูกค้าในร้านที่นั่งคุยกันได้สบายหน่อย มีรูปบรรยากาศร้าน ข้อความแนะนำ เมนูเบื้องต้นพร้อมราคา แล้วก็ระยะทางความห่างจากที่เราอยู่ในตอนนั้น เออแค่นี้ก็น่าจะตอบโจทย์คนที่ไม่ได้ทำงานบริษัทอยู่พอสมควร

แต่คือ แม่งไม่จำเป็นต้องเป็นร้านกาแฟก็ได้ไง

ร้านอาหารบางร้าน หรือร้านนั่งบางร้าน ก็มีบรรยากาศดี โต๊ะใหญ่ คนไม่พลุกพล่าน บางร้านมีเน็ตให้ใช้ มีปลั๊กให้เสียบ แค่นี้มันก็นั่งทำงานได้ง่ายแล้วก็สบายแล้วหรือเปล่า? ก็เลยคิดว่าอย่างน้อยๆ ถ้าไม่มีใครใช้ หรือเป็นคนสร้าง content ขึ้นมาเลย ก็แน่ใจได้ระดับนึงว่ายังไงตัวเองก็ต้องใช้อยู่แล้ว สมมติว่าบ้านผมอยู่แจ้งวัฒนะ ผมเพิ่มร้านน่านั่งแถวนี้เข้าไปตามประสาเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่แถวนี้ วันนึงผมต้องเข้าเมืองแล้วอยากจะหาร้านนั่งทำงานสบายๆ เงียบๆ ถ้ามีคนใช้อยู่บ้าง ก็อาจจะมี content แถวในเมืองให้ ซึ่งฟังแล้วก็พอจะมีประโยชน์อยู่บ้างสำหรับคนที่ต้องเดินทางบ่อยๆ

เลยเขียนเวอร์ชั่นแรกส่งขึ้น store มาก่อน แล้วค่อยเพิ่ม feature ใหม่ๆ เอาทีหลัง ซึ่งมันก็เหมือนกับ Kanda Bootstrap Skin ที่ผมเขียนส่งขึ้นไปขายบน Codecanyon ตั้งแต่ปีจะสองปีที่แล้ว จนตอนนี้ก็ยังอัพเดทเพิ่มนั่นเพิ่มนี่อยู่เรื่อยๆ อย่างน้อยมันก็ทำให้คนใช้รู้สึกว่า เราไม่ได้ทิ้ง product นั้น หรือปล่อยมันไว้เฉยๆ ก็นับเป็น feedback ที่ดีโดยที่เราอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้

wood-desk-on-app-store

Wood Desk ปล่อยให้โหลดช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ครับ ตอนนี้รอ approve เวอร์ชั่น 2 จากทาง Apple อยู่ ขอฝากแอพฯ ตัวแรกไว้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ

แชร์บทความนี้

    แสดงความเห็นของคุณที่นี่

    กรุณากรอกอีเมล์ของคุณก่อนส่งข้อมูล เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาตอบข้อความของคุณ