ทำยังไง ให้เว็บไซต์เราติดการค้นหาบน Google ?

ทำยังไงให้ Google รักเว็บไซต์เรา

เหมือนจะเป็นวิธีง่ายๆ แต่ไม่ง่ายเท่าไหร่หากเรายังไม่เข้าใจในหลายๆเรื่องเกี่ยวกับ Google และ Search Engine อื่นๆ วันนี้ผมมี 10 วิธีที่การันตีโดยเว็บไซต์ Attracta ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการทำ SEO โดยตรงว่า หากทำตาม 10 วิธีดังต่อไปนี้ อาจจะส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อเว็บไซต์เรา และอาจจะทำให้พี่ Google หันมาสนใจเว็บไซต์เราบ้าง..

1. ส่ง Sitemap หรือ Sitemap Submission

หลายๆคนที่ใช้ WordPress อาจจะง่ายหน่อยเพราะมีปลั๊กอินที่ช่วย Gen Sitemap ขึ้นมาให้เองที่ชื่อว่า XML Sitemap for wordpress ที่เคยได้เขียนไปในบทความก่อน: รวม WordPress Plugin ไว้ทำ SEO เบื้องต้น

2. สร้างลิงค์ในเว็บไซต์

เชื่อมลิงค์หากันภายในเว็บไซต์ แทรกลงในบทความ ดูจะเป็นการช่วยทั้ง Google bot และ ผู้ที่เข้ามาในเว็บไซต์เราดูมีทางเลือกที่จะวนเวียนกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์เรามากขึ้น

3. รู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ ภาษา HTML เบื้องต้น

การใช้ HTML ที่ถูกต้องมีผลต่อการทำ SEO ด้วยถ้าใครที่เคยใช้พวก Plugin เกี่ยวกับ SEO Presser จะรู้ว่าการแทรก Keyword ลงใน H1,H2,H3 ตัวหนา ตัวเอียง และ ความหนาแน่นของ Keyword ต่อบทความนั้นสอดคล้องกันทั้งหมด เพราะฉะนั้นรู้ภาษา HTML เบื้องต้นและปรับแต่งบทความในเว็บไซต์ก็ส่งผลดีเช่นเดียวกัน

4. เน้น Keyword ที่ชัดเจน

pic by icestormwolf

ต่อจากหัวข้อที่ 3 การที่เราเขียนบทความขึ้นมาควรจะเน้น Keyword ที่ต้องการทำให้ชัดเจน โดยการทำตัวหนาหรือตัวเอียงใส่ลงใน Keyword ด้วย เช่นเขียนบทความเกี่ยวกับสมุนไพรจำนวน 400 คำ มี Keyword ซัก 4-5 คำปะปนอยู่ พร้อมเน้น ตัวหนา ให้ชัดเจน จึงเป็นที่มาให้รู้ภาษา HTML เบื้องต้นยังไงล่ะ

5. บทความที่ไม่ซ้ำกับคนอื่น

Content is king ก็ยังดูเหมือนจะฟังแล้วมีพลังอยู่เสมอๆ ใครที่เขียนบทความทั้งหมดเอง โดยไม่ได้ลอกจากที่อื่นที่ใดมา ดูจะได้รับข้อนี้ไปเต็มๆ อย่างที่เคยเขียนไว้เกี่ยวกับ ก๊อปปี้บทความ .. ผลเสียขนาดไหน ?

6. Title – META ทรงพลัง

การรู้จักใช้ META ของหัวเว็บไซต์เราดูจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่เราพอจะทำได้ เพียงแค่ เพิ่มประโยคเกี่ยวกับ META (หาได้ในGoogle) ลงไปบน Tag <head>..</head> ก็เหมือนบ่งบอกแล้วว่าเว็บไซต์เรานี้เกี่ยวกับอะไรบ้าง

7. Description และ Keyword – Meta เสริมแรง

นอกจากจะใช้ Title แล้ว การระบุหรือบ่งบอกรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆลงบน Description Tag ช่วยให้ Search Engine สามารถรับรู้และแบ่งจัดหมวดหมู่การเข้ามาเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ของเราได้ดีอีกด้วย

8. ใช้ประโยชน์จาก HTML tag อื่นๆ

นอกจากจะใช้ ตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้น และ H1,H2,H3 แล้ว ยังมี HTML tag เล็กน้อยที่สามารถระบุและช่วยเหลือในการทำ SEO ได้อีก อย่างเช่น การระบุ Keyword ลงบนชื่อรูปภาพภายในเว็บไซต์ การทำ nofollow ให้กับ link ที่ออกนอกเว็บไซต์ การใช้ alt=”keyword” ลงบนคำหรือบทความและรูปภาพ

9. แก้ไข และตรวจสอบ ลิงค์เสียและ หน้าที่หาไม่พบ

ตรวจสอบลิงค์ภายในเว็บไซต์ถือเป็นตัวช่วยการันตีว่าเว็บไซต์เรามีความพร้อม ลิงค์ภายในเว็บไซต์ที่เสียก็อาจจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะมีหลายๆครั้งที่ Google bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วอาจจะตีกลับไปเพียงเพราะว่า 404 Not found ก็เป็นได้ ( เช็คได้จาก Webmaster tools )

10. ทำซ้ำ – ตรวจสอบ หัวข้อทั้งหมด

การย้อนกลับไปทำหัวข้อที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นการเตือนและทำให้เราเข้าใจหลักการไปในตัว เหมือนกับการวิ่งขึ้นเขา แรกๆอาจจะเหนื่อย แต่พอร่างกายอยู่ตัวแล้วก็จะคุ้นเคยและอาจจะรู้เส้นทางลัดมากขึ้นก็เป็นได้

Jir4yu.

แชร์บทความนี้

    แสดงความเห็นของคุณที่นี่

    กรุณากรอกอีเมล์ของคุณก่อนส่งข้อมูล เพื่อรับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนมาตอบข้อความของคุณ